วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

็HOMEPAGE



การนำเสนอข้อมูล ศาสตร์พระราชา

คสช. ใช้ ม.44 แก้ พ.ร.ป.พรรคการเมืองฯ ระบุปลดล็อคเมื่อประกาศกฎหมายลูก ส.ว.-ส.ส.



เพื่อไทยซัด บิ๊กตู่!! ยกเลิกคำสั่ง คสช.แล้ว อยากเห็นนายกฯ



คสช. ใช้ ม.44 แก้ พ.ร.ป.พรรคการเมืองฯ ระบุปลดล็อคเมื่อประกาศกฎหมายลูก ส.ว.-ส.ส.

วันที่ 22 ธันวาคม 2560 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออก คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 53/2560 เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง สาระสำคัญของคำสั่งฉบับนี้ คือ การแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ  (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 เพื่อเพิ่มเติมเงื่อนไขกับสมาชิกพรรคการเมืองเก่าให้ต้องดำเนินการแจ้งแสดงตัวเป็นสมาชิกต่อหัวหน้าพรรค และขยายกรอบเวลาให้พรรคการเมืองดำเนินงานธุรการโดยการต้องขออนุญาตจาก คสช. ก่อน และกำหนดเงื่อนไขปลดล็อคพรรคการเมือง เมื่อกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประกาศใช้
พรรคการเมืองขยับไม่ได้ ติดเงื่อนไขประกาศ-คำสั่งคสช.
ตามโรดแมปตามรัฐธรรมนูญ 2560 รวมทั้งคำประกาศของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. ที่กำหนดว่าจะต้องมีการเลือกตั้งทั่วไปไม่เกินเดือนพฤศจิกายน 2561 ที่กำลังบีบเข้ามาใกล้ขึ้นทุกที่ ส่งผลให้พรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองต่างๆ ที่ต้องเตรียมตัวสำหรับการเลือกตั้งตามเงื่อนไขใน พ.ร.ป.พรรคการมืองฯ ออกมาเรียกร้องกดดันให้ คสช. ดำเนินการปลดล็อคพรรคการเมืองให้เร็วที่สุด เพื่อจะได้ไม่เสียสิทธิในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง และได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาพรรคการเมือง
พ.ร.ป.พรรคการเมืองฯ ที่เพิ่งบังคับใช้เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2560 กำหนดเงื่อนไขให้พรรคการเมืองต้องดำเนินการต่างๆ ให้ทันตามกรอบเวลา อาทิ ประชุมพรรค เลือกกรรมการพรรค ซึ่งกฎหมายกำหนดให้แต่ละพรรคต้องดำเนินการต่างๆ ให้เสร็จภายใน 90-180 วัน แล้วแต่กรณี กล่าวคือ ภายในวันที่ 5 มกราคม 2561 จะครบกำหนด 90 วัน และภายในวันที่ 4 เมษายน 2561 จะครบกำหนด 180 วัน 
แม้ว่า พ.ร.ป.พรรคการเมืองฯ จะบังคับใช้ไปกว่าสามเดือนแล้ว แต่พรรคการเมืองก็ยังไม่สามารถดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้ตามที่กฎหมายกำหนด เนื่องจากติดล็อค ประกาศ คสช.ที่ 57/2557 ซึ่งห้ามพรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมทางการเมืองใดๆ เรื่อง และคําสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ซึ่งห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป
สี่เหตุผล คสช.ไม่ปลดล็อคพรรคการเมือง
อย่างไรก็ตาม คสช. เลือกที่จะไม่ปลดล็อคด้วยการยกเลิกประกาศและคำสั่งก่อนหน้า แต่เลือกใช้อำนาจมาตรา 44 แก้ไข พ.ร.ป.พรรคการเมืองฯ ด้วยการออก คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 53/2560  โดยให้เหตุว่า
1) เนื่องจากประกาศ คสช. ฉบับที่ 57/2557 เรื่อง ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับมีผลบังคับใช้ต่อไป และคําสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เรื่อง การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ ยังมีผลใช้บังคับ การดําเนินกิจกรรมทางการเมืองจึงยังไม่อาจกระทําได้
2) เพื่อไม่ให้มีผู้ฉวยโอกาสอ้างการดําเนินการตามกฎหมายไปกระทํากิจกรรมทางการเมืองอื่น อันกระทบกระเทือนต่อความสงบเรียบร้อยและความปกติสุขในบ้านเมืองซึ่งกําลังดําเนินมาด้วยดี ตลอดจนกระทบต่อบรรยากาศความสามัคคีปรองดอง
3) อยู่ระหว่างการจัดทําแผนการปฏิรูปประเทศ และการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ
4) สภานิติบัญญัติแห่งชาติยังพิจารณาร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา และร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่แล้วเสร็จ
ใช้ ม.44 แก้ พ.ร.ป.พรรคการเมืองฯ สอดคล้องข้อเสนอ ไพบูลย์ - สุเทพ
กระบวนการจัดทำ พ.ร.ป.พรรคการเมืองฯ ผ่านขั้นตอนตั้งแต่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นับเวลาในการจัดทำอย่างต่ำไม่น่าจะน้อยกว่า 11 เดือน ใช้ทรัพยากรไปจำนวนมาก แต่หลักจากบังคับใช้เพียงสามเดือนกว่ากฎหมายฉบับนี้ก็ดูจะไร้ความหมาย ตัวบทในกฎหมายไม่สามารถบังคับใช้ได้จริง
ส่งผลให้นำมาสู่การแก้ไขอีกรอบโดยใช้ มาตรา 44 โดยมีการแก้ไขที่น่าสนใจดังนี้
จัดทุนประเดิม 1 ล้านบาท และแจ้งประสงค์เป็นสมาชิกพรรคการเมืองต่อ เริ่ม 1 เมษายน 2561
๐ พรรคการเมืองเก่ายังคงดำรงอยู่ แต่ให้สมาชิกที่ประสงค์จะเป็นสมาชิกพรรคการเมืองนั้นต่อไปมีหนังสือยืนยันการเป็นสมาชิกต่อหัวหน้าพรรคการเมือง และชำระค่าบำรุงพรรคภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวให้พ้นจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองนั้น (มาตรา 140)
๐ จัดให้มีทุนประเดิมจํานวนหนึ่งล้านบาท และแจ้งให้นายทะเบียนทราบภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 (มาตรา 141 วรรคหนึ่ง (1))
๐ จัดให้สมาชิกชําระเงินค่าบํารุงพรรคการเมืองให้ได้จํานวนไม่น้อยกว่า 500 คน ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 (มาตรา 141 วรรคหนึ่ง (2))
๐ จัดให้สมาชิกชําระเงินค่าบํารุงพรรคการเมืองให้ได้จํานวนไม่น้อยกว่า 5,000 คน ภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 และให้ได้จํานวนไม่น้อยกว่า 10,000 คนภายในสี่ปี นับแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 (มาตรา 141 วรรคหนึ่ง (3))
ประชุมพรรค ตั้งสาขาพรรค เริ่มเมื่อยกเลิกประกาศคสช./คำสั่งหัวหน้าคสช.
๐ จัดให้มีการประชุมใหญ่เพื่อแก้ไขข้อบังคับและจัดทําคําประกาศอุดมการณ์ทางการเมืองของพรรคการเมืองและนโยบายของพรรคการเมืองให้ถูกต้อง และเลือกหัวหน้าพรรคการเมือง เลขาธิการพรรคการเมือง เหรัญญิกพรรคการเมือง นายทะเบียนสมาชิก และกรรมการบริหารอื่นของพรรคการเมือง ตามข้อบังคับของพรรคการเมืองที่แก้ไขใหม่ ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่มีการยกเลิกประกาศ คสช. ฉบับที่ 57/2557 และคําสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 (มาตรา 141 วรรคหนึ่ง (4))
๐ จัดตั้งสาขาพรรคการเมืองและตัวแทนพรรคการเมืองประจําจังหวัดให้ครบถ้วน ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่มีการยกเลิกประกาศ คสช. ฉบับที่ 57/2557 และคําสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 หากดำเนินการไม่ทันระยะเวลาที่กำหนดอาจขอขยายเวลาได้อีกหนึ่งเท่าของระยะเวลาที่กำหนดในแต่ละะเรื่อง เมื่อครบเวลาที่กำหนดให้ขยายหากพรรคการเมืองไม่สามารถดำเนินการให้เสร็จได้ให้สิ้นสภาพลง (มาตรา 141 วรรคหนึ่ง (5))
๐ ในระหว่างที่พรรคการเมืองใดยังดําเนินการตามมาตรา 141 วรรคหนึ่ง (1) (2) (4) และ (5) ไม่ครบถ้วน ห้ามมิให้จัดสรรเงินสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองให้แก่พรรคการเมืองนั้น
๐ ห้ามไม่ให้พรรคการเมืองเก่า จัดการประชุมใหญ่ รวมทั้งการจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองและตัวแทนพรรคการเมืองประจําจังหวัด การประชุมสมาชิกพรรคการเมือง หรือการดําเนินการอื่นใดในทางการเมืองนอกเหนือจากที่กําหนดไว้ในคําสั่งนี้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก คสช.
ตั้งพรรคการเมืองใหม่เริ่ม 1 มีนาคม 2561
๐ การจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่สามารถดําเนินการทางธุรการ ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม 2561 แต่การประชุมเพื่อยื่นคําขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมือง ต้องได้รับอนุญาตจาก คสช. และให้ดําเนินกิจกรรมได้เท่าที่ได้รับอนุญาตหรือตามเงื่อนไขที่ คสช. กําหนด
ประกาศกฎหมายลูก ส.ว. - ส.ส. ให้ยกเลิกประกาศคสช./คำสั่งหัวหน้าคสช.
๐ เมื่อมีการประกาศ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. .... แล้วให้ คสช. เพื่อพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกกฎหมาย ประกาศ คสช. หรือคําสั่งหัวหน้า คสช. ที่เป็นอุปสรรคต่อการดําเนินการของพรรคการเมือง และจัดทําแผนและขั้นตอนการดําเนินการทางการเมืองเพื่อนําไปสู่การเลือกตั้งทั่วไป
8 ธันวาคม 2560 สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.
เสนอให้ สนช. แก้ไข พ.ร.ป.พรรคการเมืองฯ 
การแก้ไขครั้งนี้สอดคล้องกับข้อเสนอของ ไพบูลย์ นิติตะวัน ประธานเครือข่ายประชาชนปฏิรูป ที่เสนอให้แก้ไขพ.ร.ป.พรรคการเมืองฯ มาตรา 140 และ 141 เพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรมระหว่างสมาชิกพรรคและพรรค และ สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ที่เสนอให้แก้ไขพ.ร.ป.พรรคการเมืองฯ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและความเท่าเทียมทางการเมืองเก่าและพรรคการเมืองใหม่



อ้างอิง https://ilaw.or.th/node/4709
HOME PAGE

เพื่อไทยซัด บิ๊กตู่!! ยกเลิกคำสั่ง คสช.แล้ว อยากเห็นนายกฯ


บิ๊กตู่ – เมื่อวันที่ 11 ก.ค. นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ รักษาการโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การยกเลิกคำสั่งและประกาศ คสช. ไม่ได้เป็นเรื่องตื่นเต้นหรือน่ายินดีแม้แต่น้อย ตรงกันข้ามกลับสร้างความรู้สึกขมขื่นใจ เพราะตลอด 5 ปีที่ผ่านมา คำสั่งและประกาศที่คสช.ได้บีบบังคับและคุกคามประชาชนโดยปราศจากการควบคุมตรวจสอบอย่างอิสระ การบริหารประเทศก็ล้มเหลว
อยากถามพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่า หัวหน้าคสช.เป็นเจ้าหน้าที่รัฐใช่หรือไม่ ที่ออกประกาศยกเลิกคำสั่งที่ตัวเองเคยออกไว้ ถ้าไม่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ แล้วเป็นอะไร แล้วทำไมใครๆ ก็ขัดขืนหรือโต้แย้งไม่ได้
พล.อ.ประยุทธ์จะรู้สึกอย่างไรที่ต่อไปนี้ไม่มีมาตรา 44 ไว้ควบคุมเสรีภาพสื่อ และจำกัดสิทธิการรับรู้ข่าวสารของประชาชนอีกแล้ว การเรียกคนทำสื่อมาปรับทัศนคติ กักตัวไว้ ข่มขู่ กำราบให้หวาดกลัวเพื่อจะได้ไม่กล้าเสนอข่าวและวิพากษ์วิจารณ์ คสช.และรัฐบาลได้อย่างอิสระเสรี จะทำไม่ได้อีกต่อไป
คำขอโทษสื่อสักคำมีหรือไม่ ที่หัวหน้าคสช.จะพูดออกมาด้วยความสำนึกผิด เพราะ 5 ปีที่ผ่านมาได้ใช้อำนาจพิเศษจำกัดเสรีภาพสื่ออย่างเต็มที่ ทีวีถูกปิดไปกี่ช่อง เสียหายในทางธุรกิจเท่าไหร่ ภาพลักษณ์ของไทยต้องเสียหายย่อยยับป่นปี้ไปเท่าไร พล.อ.ประยุทธ์รู้หรือไม่ว่าวิชาชีพสื่อเปรียบเหมือนนกที่ต้องมีเสรีภาพในการบินอยู่บนท้องฟ้า แต่ต้องถูก คสช.จับเอามาขังไว้ในกรง นี่คือความเจ็บปวดของคนทำสื่อ
นางลดาวัลลิ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้การขึ้นศาลทหารสะท้อนถึงความอยุติธรรมในกระบวนการพิสูจน์ความจริง ซึ่งโดยหลักแล้วต้องให้ศาลยุติธรรมพิจารณาคดี นี่คือความอัปลักษณ์ที่ พล.อ.ประยุทธ์ได้ทำไว้ ทั้งนี้ เหตุใดหัวหน้า คสช.จึงไม่ยกเลิกคำสั่งและประกาศอีกหลายฉบับที่เรียกให้ผู้ที่เห็นต่างมารายงานตัวกับคสช. หลังก่อรัฐประหารใหม่ๆ ใครไม่มาก็ถูกจับกุมดำเนินคดี มีโทษทั้งจำคุกและปรับ
ขณะนี้มีผู้ที่หลบลี้หนีภัยการเมืองไปอยู่ในต่างประเทศอีกหลายคน คนเหล่านี้ต้องพลัดพรากครอบครัว พวกเขาอยากกลับมาบ้านเกิดเมืองนอน แต่ก็กลับมาไม่ได้เนื่องจากยังมีคำสั่ง คสช.อยู่ อยากถามว่าพล.อ.ประยุทธ์ยังอาฆาตเคียดแค้นที่คนเหล่านี้ไม่ยอมสยบก้มหัวให้กับคสช.ใช่หรือไม่ นี่คือการสร้างภาระให้กับสภาฯ ที่ต้องเสียเวลาไปกับการเสนอร่างกฎหมายเพื่อให้ยกเลิกคําสั่ง คสช.ดังกล่าว เรื่องนี้จึงน่าจะเป็นประจักษ์พยานยืนยันว่า พล.อ.ประยุทธ์ไม่ได้ต้องการสร้างความปรองดองอย่างแท้จริง

อ้างอิง https://www.khaosod.co.th/politics/news_2700664
HOME PAGE

"ลุงตู่" ปล่อยคลิปรัวๆ ลั่น 4 ห้องหัวใจยกให้ "ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์" ชวนคนไทย 68 ล้านอย่าลังเล ขอให้ทุกคนก้าวไปกับผม


Volume 90%
00:36



00:53
00:53


          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงค่ำของวันที่ 17 มี.ค.ที่ผ่านมา เพจลุงตู่ตูน ก็ได้ปล่อยคลิปในหัวข้อ “ฟังเหตุผลที่เราต้องไปกับนายกฯลุงตู่" ความยาว 53 วินาที ที่เริ่มด้วยคำถามที่ว่า ฟังชัดๆพูดครั้งเดียวกับลุงตู่ 4 รู้มั้ยห้องหัวใจมอบให้ใคร ก่อนตัดภาพมาเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในชุดสูทสีดำ ไม่สวมเนคไท พูดเชิงตอบคำถามว่า “หัวใจดวงนี้ของผมนั้น ให้กับชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มานานแล้ว ตั้งแต่เกิดมาแล้ว .. เราต้องเดินหน้าไปด้วยความเข้าใจร่วมกัน .. แล้วเข้าใจไหมว่า เราจะทำอย่างไรต่อไป เราจะต้องทำต่อจากของเดิมที่มานี่แหละ หลายอย่างต้องเริ่มใหม่ หลายอย่างต้องเพิ่มขึ้น แต่ต้องช่วยกัน ด้วยสองมือ 68 ล้านหัวใจเดินไปด้วยกันข้างหน้า อย่าลังเลใจ ขอให้ทุกคนก้าวไปกับผม”



          ก่อนขึ้นข้อความทิ้งท้ายว่า “พร้อมเดินหน้าไปกับ “ลุงตู่” อย่าลังเลใจ” โดยโพสต์ดังกล่าวมีผู้เข้ารับชมมากกว่า 2 หมื่นครั้ง และแชร์ต่อราว 300 ครั้งด้วยกัน.









HOME PAGE
อ้างอิง https://today.line.me/th/pc/article/%E2%80%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B9%E0%B9%88%E2%80%9D+%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%86+%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99+4+%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89+%E2%80%9C%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4+%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%8C+%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E2%80%9D+%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2+68+%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B8%A1-aW8aDO

ครบแล้วเสียงหนุน “พล.อ.ประยุทธ์” เป็นนายกฯ – หมดทางปิดสวิตช์ ส.ว.

วันที่ 13 พ.ค. หลังจากที่พรรคการเมืองที่ได้ ส.ส.1 คน รวมตัวกัน 11 พรรค ประกาศจุดยืนสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีและพร้อมร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ ทำให้การจับขั้วอย่างเป็นทางการของฝ่ายพรรคพลังประชารัฐ ขยับไปอยู่ที่ 132 เสียง
ประกอบด้วย พลังประชารัฐ 115 เสียง, รวมพลังประชาชาติไทย 5 เสียง, ประชาชนปฏิรูป 1 เสียง และอีก 11 พรรค 11 เสียง ที่ประกาศล่าสุด คือ พรรคพลังชาติไทย พรรคประชาภิวัฒน์ พรรคพลังไทยรักไทย พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคประชานิยม พรรคครูไทยเพื่อประชาชน พรรคประชาธรรมไทย พรรคพลเมืองไทย พรรคประชาธิปไตยใหม่ พรรคพลังธรรมใหม่ และพรรคไทรักธรรม


อุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ รับหนังสือแสดงความจำนงร่วมรัฐบาลจากตัวแทน 11 พรรคการเมือง
แม้จะยังไม่เกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร 250 เสียง แต่ก็มากพอสำหรับโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ที่จะใช้เสียงกึ่งหนึ่งของ 2 สภา (ส.ส. 500 เสียง / ส.ว. 250 เสียง) รวมกัน คือ 376 จาก 750 เสียง
ถ้าเป็นไปตามการคำนวณก่อนหน้านี้ที่สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่หัวหน้า คสช. คือ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นผู้เลือกในขั้นตอนสุดท้าย ลงคะแนนไปทางเดียวกันทั้ง 250 เสียง ก็ต้องการเสียง ส.ส.อีก 126 เสียง ซึ่งล่าสุดขั้วพลังประชารัฐ รวมไปได้แล้ว 132 เสียง จึงเป็นที่แน่นอนแล้วว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
การดำเนินการของพรรคพลังประชารัฐต่อจากนี้ คือ การรวบรวมเสียง ส.ส. ให้เกิน 250 เสียงเพื่อให้รัฐบาลทำงานไปได้อย่างราบรื่น และเกิดความชอบธรรม
ขณะที่ฝั่งของฝ่ายต่อต้านอำนาจ คสช.ที่รวมตัวกัน 7 พรรค 245 เสียง ประกอบด้วย เพื่อไทย 136 เสียง, อนาคตใหม่ 80 เสียง, เสรีรวมไทย 10 เสียง, ประชาชาติ 7 เสียง, เศรษฐกิจใหม่ 6 เสียง, เพื่อชาติ 5 เสียง และพลังปวงชนไทย 1 เสียง
ความพยายามก่อนหน้านี้ของ พรรคอนาคตใหม่ คือ จะเจรจาให้พรรคการเมืองร่วมกันปิดสวิตช์ ส.ว. คือ ส.ส. ร่วมกันโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีเอง โดยต้องได้ 376 เสียง จึงเท่ากับหมดโอกาสตามไปด้วย
เพราะเมื่อรวมกับอีก 6 พรรคที่ยังไม่ประกาศจุดยืนทางการ 121 เสียง คือ ประชาธิปัตย์ 52 เสียง, ภูมิใจไทย 51 เสียง, ชาติไทยพัฒนา 10 เสียง, ชาติพัฒนา 3 เสียง, พลังท้องถิ่นไท 3 เสียง, และ รักษ์ผืนป่าประเทศไทย 2 เสียง จำนวนสูงสุดที่จะได้คือ 366 เสียง ไม่พอสำหรับการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีโดยไม่ใช้เสียง ส.ว.  (โดยที่ในกลุ่ม 6 พรรคนี้ ก็มีบางพรรคที่มีแนวโน้มจะเข้าร่วมกับขั้วพลังประชารัฐด้วย)
ทางออกที่ยังเหลืออยู่จึงน่าจะอยู่ที่การร้องเรียนเรื่องวิธีการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่มีผลให้ 11 พรรคการเมือง ที่ได้ ส.ส.ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยประมาณ 71,000 คะแนน ได้รับการจัดสรร ส.ส.ด้วย
แต่จะทันหรือไม่กับการเปิดประชุมสภา เพื่อเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร และเลือกนายกรัฐมนตรี เป็นลำดับต่อไป


HOME PAGE
อ้างอิง https://workpointnews.com/2019/05/13/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%99-%E0%B8%9E%E0%B8%A5-%E0%B8%AD-%E0%B8%9B%E0%B8%A3/